ทำบุญไหว้พระเก้าวัด ในอยุธยา 1วันกับ ล้อหมุน.คอม

ริงแล้วการทำบุญทำที่ไหนก็ได้ครับถ้าเราไปทำแล้วมีความสุข มีความรู้สึกสนุกกับการทำบุญ
ใจเราก็เป็นสุข คนรอบข้างเห็นเรามีความสุขเขาก็ยินดี เราก็ดีใจครับ เพราะฉะนั้นเราจะอยู่กับที่ไม่ได้ครับ
ต้องมีการเดินทางบ้างนะครับ เดินทางไปหาความสุข ผมจึงขอแนะนำไม่ไกลจากกรุงเทพก็คือจังหวัด
อยุธยาครับ งานนี้ ล้อหมุน.คอม จะพาพี่ๆน้องๆพ่อ แม่ ลุง ป้า น้า อา ปู่ย่า ตายาย อาซิ้ม อากู๋ ทวดของทวด
ไปกันให้หมดบ้านเลย มาทำบุญไหว้พระเก้าวัด ในอยุธยาครับ เรื่องเส้นทางผมคงไม่ต้องบอกนะครับ
ถ้ามาอยุธยาไม่ถูกก็ไม่ต้องมาหรอกครับไหว้พระวัดแถวบ้านเถอะครับ(ล้อเล่นน่า)มาเถอะครับอยากให้มา
เที่ยวกันบ้าง อย่ามัวแต่ทำงานกันเลยออกมาใช้ตังค์กับบ้างเถอะครับอยู่แต่บ้านเดี๋ยวเงินจะหล่นมาทับซะก่อนเงินจะได้หมุนเวียนในประเทศบ้างอะไรหลายอย่างจะได้ดีขึ้นครับ หลายคนถามผมว่าทำไมต้องเก้าวัดด้วยวัดเดียวไม่ได้เหรอ 3วัด 5วัด 10วัดไม่ได้เหรอ ผมบอก ผมไม่ได้ห้ามคุณจะทำสัก20วัดก็ได้ไม่มีใครว่า ทำมากได้มากมีแรงหรือเปล่าล่ะครับ เลข9 เลขมงคลครับทำอะไรก็เจริญเก้าหน้าใครๆก็อยากได้ ไว้เป็นศิริมงคลแก่ตัวเองอยากให้เดินทางกันในตอนเช้าๆครับจะได้ไม่ร้อนไปที่วัดแรกกันเลยครับ

1. วัดใหญ่ชัยมงคล วัดแรกต้องทำอะไรให้ใหญ่ไว้ก่อนชื่อใหญ่มาพร้อมกับความเป็นศิริมงคลถ้ามาจากกรุงเทพเลี้ยวเข้าเมืองมาตรงมาเรื่อยๆเจอเจดีย์นักเลงแล้วเลี้ยวซ้ายไปก็จะเจอวัดใหญ่อยู่ทางซ้ายมือเลี้ยวเข้าไปเลยครับลานจอดรถอยู่ด้านหลังครับ ถ้าไม่เข้าใจก็หาแผนที่ในอินเตอร์เน็ทดูเอาเองเน้อ มาถึงกันแล้วก็ตามอัธยาศัยเลยนะครับ จะไหว้พระ จะเข้าห้อง กินก๋วยเตี๋ยว ตามสบายเลยครับ

วัดใหญ่ชัยมงคลถือว่าเป็นวัดมีความสำคัญทางประวัติ ศาตร์มากที่สุดและเป็นวัด

ที่นักท่องเที่ยวนิยมมามากที่สุดวัดหนึ่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จึงเป็นธรรมดาที่จะ

พบเห็นนักท่องเที่ยวจำนวนมากเดินทางมายังวัดแห่งนี้ จุดสนใจของวัดใหญ่ชัยมงคลนี้ คือ

เรื่องราวทางประวัติศาตร์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา รวมไปถึงสถาปัตยกรรมที่โดดเด่น ชมเจดีย์

ที่สูงที่สุดในอยุธยา ด้านหลังวัดมีตำหนักสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ให้ผู้นับถือศรัทธาเข้ามา

กราบไหว้ นอกจากนี้ บริเวณ รอบๆ ยังมีมีสวนหย่อมที่สวยงามให้พักผ่อนอีกด้วย

นักท่องเที่ยวที่ต้องการมาเที่ยวอยุธยาจึงไม่ควรพลาดอย่างยิ่ง

วัดนี้สร้างใน สมัยพระเจ้าอู่ทอง เมื่อ พ.. 1900 ได้รับพระราชทานนามว่า วัดป่าแก้ว ต่อมาเป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าวันรัต พระสังฆราชฝ่ายวิปัสนา ชาวบ้านจึงเรียกวัดนี้ว่าวัดเจ้าพระยาไทย” (หมายถึงสังฆราช) มีเจดีย์องค์ใหญ่ทรงระฆังคว่ำ สูงประมาณ 60 เมตร ได้รับพระราชทานนามจากสมเด็จพระนเรศวร ว่าเจดีย์ชัยมงคลสร้างเพื่อเฉลิมพระเกียรติยศ ที่ทรงกระทำยุทธหัตถีชนะสมเด็จพระมหาอุปราชาแห่งพม่า พระศักดิ์สิทธิ์คู่วัดนี้ได้แก่ พระนอนขนาดใหญ่ ซึ่งสร้างในสมัยสมเด็จพระนเรศวร




2. วัดพนัญเชิงวรวิหาร มหามงคล ด้านการค้าพาณิชย์รุ่งเรือง ความสำเร็จในงาน

หลายท่านคงรู้จักกันดีนะครับ หลวงพ่อโตองค์ใหญ่มากครับ

วัดพนัญเชิง ตั้งอยู่ริมแม่น้ำป่าสักทางทิศใต้ฝั่งตรงข้ามของเกาะเมือง ห่างจากตัวเมืองราว 5 กิโลเมตร ในพระวิหารเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่ สร้างเมื่อพ..1867 เดิมชื่อพระพุทธเจ้าพนัญเชิงแต่ในรัชกาลที่ 4 เมื่อมีการบูรณะปฏิสังขรณ์ พระพุทธรูปองค์จึงนี้ได้พระราชทานนามใหม่ว่าพระพุทธไตรรัตนนายก” (ชาวบ้านนิยมเรียกหลวงพ่อโต ชาวจีนนิยมเรียกว่า ซำปอกง) เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยลงรักปิดทอง มีขนาดหน้าตักกว้าง 14.10 เมตรและสูง 19 เมตร ฝีมือปั้นงดงามมาก อาจนับได้ว่า เป็นพระพุทธรูปนั่งสมัยอยุธยาตอนต้น ที่มีขนาดใหญ่มากที่สุดที่เหลืออยู่ในปัจจุบัน เป็นที่เคารพสักการะของชาวจังหวัดอยุธยา และจังหวัดใกล้เคียง ใครมาอยุธยาต้องไม่พลาดที่จะแวะที่วัดนี้

3. วัดอโยธยา (วัดเดิม) เป็นวัดเก่าแก่มาก หลายคนอาจไม่รู้จักรวมถึงตัวผมด้วย ส่วนคนที่รู้จักนั้นจะมาจากความฝันซะส่วนใหญ่ถึงได้ไปกัน แต่คราวนี้ไม่ต้องรอรู้จักในฝันอีกแล้วครับ ล้อหมุน.คอม จะพาไปรู้จักวัดนี้กันเลยครับ ดูประวัติน่าสนใจดีครับอ่านแล้วสนุกดี

วัดนี้ตั้งอยู่บริเวณตอนเหนือของเขตการอนุรักษ์เมืองเก่าอโยธยา หลักฐานในเรื่องการสร้างวัดมีปรากฏในพงศาวดารเหนือ ซึ่งพระยาประชากิจกรจักร เขียนไว้ในพงศาวดารโยนก ถึงลำดับกษัตริย์ผู้ครองแคว้นละโว้ชั้นหลัง ตั้งแต่จุลศักราชล่วงเข้า ๔๐๐ ปี มาแล้ว (พ.ศ. ๑๕๘๑) ดังนี้
พระเจ้าสินธพอมรินทร์ แกรก
๒. พระเจ้าจันทรโชติ
๓. พระนารายณ์
๔. พระเจ้าหลวง
๕. พระเจ้าสายน้ำผึ้ง
๖. พระเจ้าธรรมิกราช
ในพงศาวดารโยนกกล่าวต่อไปอีกว่า ในแว่นแคว้นละโว้นี้มีเมืองมหานครและเมืองลูกหลวงเป็นกึ่งสาขา และผลัดเปลี่ยนกันเป็นเมืองหลวงและเมืองลูกหลวง คือ เมืองลพบุรีกับรามบุรี อโยชฌิยา๑เมื่อ พ.ศ. ๑๔๒๐ พระมหาพุทธสาคร เป็นเชื้อกษัตริย์ทางเมืองเหนือ แขวงเมืองพานกำแพงเพชร์ ได้เสด็จมาสร้างเมืองสังขบุรี ริมหนองโสน แล้วเสวยราชย์อยู่ที่เมืองนี้เป็นปฐม

เมื่อสิ้นรัชกาลพระพุทธสาครแล้ว พระยาโคดมเชื้อกษัตริย์ไทยลุ่มแม่น้ำโขง ได้เสด็จมาจากเมืองอินทปัตถนคร ได้ครองสมบัติและย้ายไปครองเมืองวัดเดิมที่ริมน้ำป่าสัก (สถานีรถไฟเดี๋ยวนี้) ครองสมบัติอยู่ได้ ๓๐ ปี สวรรคต พ.ศ. ๑๕๔๗

เมื่อพระยาโคดมสิ้นพระชนม์ ยังมีกษัตริย์สืบต่อมาอีก คือ พระยาโคตรบอง พระเจ้าสินธพอมรินทร์๒ เรื่องราวเมื่อพระเจ้าสินธพอมรินทร์สิ้นพระชนม์แล้ว มีกล่าวไว้ พงศาวดารชาติไทยเล่มที่ ๔ ว่า

พระนารายณ์ราชโอรสพระเจ้าจันทรโชติ เสด็จลงมาจากละโว้ แย่งเมืองวัดเดิม ขึ้นครองราชสมบัติแล้วให้เรียกนามว่าเมืองอโยธยาเพื่อให้สมพระนามของพระองค์ ที่เฉลิมชัยในการทำสงครามยุทธหัตถีชนะนเรศวรหงสาของพระองค์ (เข้าใจว่านเรศวรหงสาผู้นี้น่าจะเป็นพระเจ้าอนุรุธหรืออโนรธามังช่อ ซึ่งศักราชที่พระเจ้าจันทรโชติครองราชสมบัติน่าจะอยู่ระหว่างปี ๑๕๙๔ - ๑๖๐๐)

หลังจากพระนารายณ์ขนานนามเมืองอโยธยาแล้ว ได้เสด็จกลับไปเมืองละโว้ มีความปรากฏในพงศาวดารเหนือว่า “..แล้วพระนารายณ์ไปสร้างพระปรางค์เมืองละโว้ขนานนามเมืองใหม่ชื่อว่า ลพบุรี แต่นั้นมาเป็นเมืองลูกหลวง พระนารายณ์ทรงประชวรลงมา ครั้นถึงพระราชวัง ๓ วัน สวรรคต ถวายพระเพลิงที่วัดพระองค์สร้างไว้ชื่อวัดนารายณ์อิชรา แต่นั้นมาเมืองว่างเปล่าอยู่ อำมาตย์ ๙ คน รบราฆ่าฟันชิงราชสมบัติกัน โลหิตในเมืองนั้นประดุจท่วมท้องช้าง แต่ทำศึกสิ้น ๒ ปี ศักราช ๓๑๑ ปีมะเส็งเอกศก พระเจ้าหลวงได้ราชสมบัติ ๙ ปี จึงกำหนดให้ตั้งพิกัดอากรขนอนตลาดไว้ทุกตำบล จึงสั่งให้ยกวังเป็นวัด เรียกว่าวัดเดิมแต่นั้นมาหลังจากพระเจ้าหลวงได้สั่งยกวังให้เป็นวัดแล้ว ต่อมาโปรดให้สร้างเมืองใหม่ สร้างตำหนักวังอยู่ท้ายเมือง มีหลักฐานจากพระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่องประพาสลำน้ำมะขามเฒ่า ฉบับพิมพ์พุทธศักราช ๒๔๙๓ หน้า ๓๙ ทรงนิพนธ์เรื่องเกี่ยวกับ วัดตูม วัดศาสดา ได้พาดพิงถึงวัดอโยธยาไว้ ดังนี้

“..สังเกตุดูการพระอุโบสถทั้งสองวัดนี้ เห็นจะได้มาซ่อมในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า วัดสองวัดนี้เป็นวัดเดิมแต่ครั้งกรุงอโยธยาชั้นเดียวกันกับวัดเดิมที่เรียก ว่าวัดศรีอโยธยา วัดเดิมเป็นวัดคามวาสี ตั้งอยู่กลางพระนคร วัดตูมเป็นอรัญวาสีตั้งอยู่ในป่า วัดศาสดาเป็นศิษย์ของวัดตูม..

เมื่อสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ สร้างพระนครขึ้นที่ริงหนองโสน ฝังหลักเมือง วันศุกร์ขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๕ (ปีขาล จุลศักราช ๗๑๒) แล้วชื่อวัดอโยธยา๒ (วัดเดิม) เท่าที่ค้นพบปรากฏในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา ปลายแผ่นดินสมเด็จกรมขุนพรพินิตมีความว่า

ถึง ณ วันเดือน ๘ ข้างขึ้น (กรมขุนพรพินิต) เสด็จทรงเรือพระที่นั่งศรีสมรรถชัย เป็นกระบวนพยุหยาตราแห่ออกไปทรงผนวช ณ วัดเดิม แล้วเสด็จมาอยู่ ณ วัดประดู่นอกจากนั้นยังได้พบในหนังสือสมเด็จพระนารายณ์มหาราชและนักปราชญ์สมเด็จพระ พุทธโฆษาจารย์วัดเดิมไว้ดังนี้

เป็นพระมหาเถระองค์หนึ่งที่ทรงภูมิรู้แตกฉานในคัมภีร์พระไตรปิฎกในรัชกาล สมเด็จพระนารายณ์ ท่านเป็นอธิการวัดเดิม คือ วัดอโยธยา (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา)…” อีกตอนหนึ่งว่า

ท่าน ได้ถวายเทศน์หรือเรียบเรียงเทศนากัณฑ์หนึ่ง ถวายแด่สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมื่อศุกร์ขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๖ ปีเถาะ พ.ศ. ๒๒๑๘ ให้ชื่อว่า ราโชวาทชาดก และราโชวาทชาดกนีพระมหากษัตริย์ซึ่งสืบราชสมบัติในกรุงศรีอยุธยาพระองค์ต่อๆ มาคงจะทรงนับถือเป็นคัมภีร์สำคัญประจำราชสำนัก..

น. ณ ปากน้ำ ได้เขียนเล่าถึงวัดเดิม (วัดอโยธยา) ไว้ในหนังสือห้าเดือนกลางซากอิฐที่อยุธยาว่า๑มีเจดีย์ทรงลังกาแปดเหลี่ยมตั้งอยู่บนฐานสูง เห็นได้แต่ไกล ตัวเจดีย์ยอดหักลงมาแต่บัลลังก์ฐานทักษิณก่อสูงมาก แปลกตา ไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อน องค์ระฆังปั้นปูนเป็นกลีบบัวซ้อนเหมือนกลุ่มหัวเสา มีบันไดขึ้นองค์เจดีย์ด้านหน้าและด้านหลัง ใบเสมาวัดเดิมทำด้วยหินทรายขาวลายคล้ายใบโพธิ์ขนาดใหญ่ติดอยู่ตรงกลาง จัดเป็นใบเสมาแบบเก่าเห็นมีอยู่หลายชิ้น เข้าใจว่าจะเป็นของเดิม ทางวัดก่อสร้างอุโบสถใหม่ ได้เอาใบเสมาแบบนี้มาติดอยู่หน้าอุโบสถอันหนึ่ง ซุ้มประตูกำแพงฝีมือช่างสมัยพระนารายณ์และเห็นใบเสมารุ่นพระนารายณ์พิงอยู่ อันหนึ่ง จึงเข้าใจว่าจะมาปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่สมัยพระนารายณ์ เจดีย์ฐานย่อมุมสิบสองถูกรื้อทำลายเสียแล้ว กลายเป็นอุโบสถแทนที่ ภูมิประเทศรอบๆ วัดเดิมเป็นที่ลุ่ม ตัววัดตั้งอยู่บนดอน ยังมองไม่เห็นว่ามีเค้าของเก่าอยู่ตรงไหน แปลกตรงฐานเจดีย์ซึ่งก่อสูงมาก บางทีอาจจะเป็นฐานเจดีย์เก่าแล้วจึงปฏิสังขรณ์ สร้างเจดีย์แปดเหลี่ยมบนนั้นในภายหลัง


4. วิหารวัดมงคลบพิตร เป็นอีกที่ที่พระองค์ใหญ่พระมงคลบพิตรครับ

ประวัติวัดมงคลบพิตร

วัดนี้มีอายุมากกว่า กรุงรัตนโกสินทร์เสียอีก จากหลักฐานพระราชพงศาวดารเดิมนั้น วัดมงคลบพิตรเริ่มวางเสา สร้างในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ราวพุทธศักราชที่ 2153 โดยที่พระองค์โปรดเกล้าฯให้ชัก พระมงคลบพิตรที่ กรมศิลปากรสันนิษฐานว่ามีการสร้างมาก่อนหน้านี้ ในสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช มาประดิษฐานที่วัดนี้ แล้วก่อมณฑปครอบมิดไว้ จากนั้นในอีก 2 ปีให้หลัง สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ก็รับสั่งให้สร้างโคกหน้าวิหารไว้ใช้สำหรับถวายพระเพลิง

ครั้น ถึงแผ่นดิน ของสมเด็จพระเจ้าเสือ ยอดมณฑปเกิดไฟไหม้เพราะอสนีบาต ทำให้ส่วนบนขององค์พระมงคลบพิตรเสียหายจึงโปรดให้ก่อสร้างใหม่ แปลงเป็นพระวิหารแทน เมื่อเสียกรุงครั้งที่ 2 วิหาร พระมงคลบพิตร ได้ถูกไฟไหม้ พระวิหารและองค์พระพุทธรูปได้รับการปฏิสังขรณ์ใหม่ ฝีมือ ไม่งดงามอ่อนช้อยเหมือนเก่า บริเวณข้างวิหารพระมงคลบพิตรทางด้านทิศตะวันออก เดิมเป็น สนามหลวง ใช้เป็นที่สำหรับสร้างพระเมรุพระบรมศพของพระมหากษัตริย์ และเจ้านายเช่นเดียวกับ ท้องสนามหลวงของกรุงเทพฯ วิหารพระมงคลบพิตรถูกไฟเผาผลาญ ครั้งเสียกรุงศรีอยุธยา เมื่อปี พ.. 2310 จนเครื่องบนของพระวิหารพังลงมา ถูกพระเมาฬีและพระกรขวาขององค์พระชำรุด พระยาโบราณราชธานินทร เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลมณฑลอยุธยา ได้บูรณะซ่อมแซมให้คืนดี สำหรับพระวิหารที่ชำรุดหักพังเกือบจะโดยสิ้นเชิงนั้น ได้บูรณะขึ้นใหม่อย่างที่เป็นอยู่ปัจจุบันเมื่อปี พ.. 2499 โดย นายอูนุ นายกรัฐมนตรีสหภาพพม่าในขณะนั้น ได้บริจาคเงินจำนวนสองแสนบาท ร่วมกับฝ่ายรัฐบาลไทยอีกสองแสนห้าหมื่นบาท

วิหารพระมงคลบพิตร ถ้าตามพระราพงศาวดารฯบริเวณที่ตั้งวิหารนี้เคยเป็นวัด ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมเพราะระบุว่าโปรดอัญเชิญพระพุทธรูปขนาดใหญ่ นามว่ามงคลบพิตรมาจากพื้นที่ทางตะวันออกต่อจากนั้นก็ทรงก่อมณฑปครอบ ครั้นถึงรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ โปรดเกล้าให้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์ พระมงคลบพิตรขึ้นอีกครั้งหนึ่ง โดยโปรดให้ทำบัวหงายคั่นระหว่างพระเกตุมาลากับพระรัศมี

ส่วนพระวิหารนั้นก็โปรดให้รื้อเครื่องบนออก แล้วก่อหลังคาให้เหมือนดังพระวิหารทั่วไป ต่อมาเมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าครั้งที่ ๒ พ.. ๒๓๑๐ นั้น

พม่าเข้าใจว่าพระมงคลบพิตรเป็นพระพุทธรูปทองคำ จึงได้ใช้ไฟสุมลอกทอง จนกระทั่งองค์พระ ตลอดจนพระวิหารได้รับความเสียหายมาก

โดยเฉพาะเครื่องบนพระวิหารที่หักลงมา ต้องพระเมาฬีและพระกรข้างขวาจนแตกหัก ตกลงมากลายเป็นซากปรักหักพัง

นับแต่นั้นมาจนกระทั่งถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ จึงได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์ขึ้น เมื่อครั้งพระยาโบราณราชธานินทร์ ดำรงตำแหน่ง สมุหเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่าครั้งนั้นได้มีการซ่อมพระเมาฬีและพระกรข้างขวา ด้วยปูนปั้น ส่วนพระวิหารที่อยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรม ก็ ได้มีการบูรณะขึ้นใหม่ด้วยเช่นกัน ใน พ.. ๒๔๗๔ คุณหญิงอมเรศศรีสมบัติ มีศรัทธาที่จะปฏิสังขรณ์ฐานพระมงคลบพิตรขึ้นใหม่

ครั้นนั้นจำเป็นต้องลบรอยปูนปั้นของเดิมออกจนหมด ครั้นถึง พ.. ๒๔๙๙ จอมพลแปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ได้สั่งให้มีการ

บูรณะปฏิสังขรณ์พระมงคลบพิตร และพระวิหารขึ้นใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยเฉพาะองค์พระมงคลบพิตรนั้นได้ทาสีดำตลอดทั้งองค์

.. ๒๕๓๓ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก เสด็จมาเป็นองค์ประธานเททองหล่อพระพุทธรูปพระมงคลบพิตรจำลอง

ได้ประทานพระราชดำริว่าควรปิดทององค์พระมงคลบพิตรทั้งองค์ ทำให้องค์พระพุทธรูปมีพุทธลักษณะที่งดงาม น่าเลื่อมใสศรัทธายิ่งขึ้น

5. วัดหน้าพระเมรุ เป็นวัดมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์กรุงศรีอยุธยา เนื่อจากเคยเป็นวัดที่พม่าใช้ตั้งฐานบัญชาการจึงเป็นวัดเดียว

ในกรุงศรีอยุธยาที่ไม่ได้ถูกพม่าทำลายและยังคงปรากฏสถาปัตยกรรมแบบอยุธยา และอยู่ในสภาพสมบูรณ์มากที่สุดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

วัดหน้าพระเมรุ เป็นวัดยอดนิยมของนักท่องเที่ยวที่มักเดินทางไปนมัสการ หลวงพ่อพระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญ์บรมไตรโลกนาถ

ที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่งในกรุงศรีอยุธยา

ประวัติ

ตำนานกล่าวถึงวัดนี้ว่า พระองค์อินทร์ในสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ รัชกาลที่ ๑๐ แห่งกรุงศรีอยุธยา ทรงสร้างเมื่อจุลศักราช ๘๖๔ (.. ๒๐๔๖) ประทานนามว่าวัดพระเมรุราชิการรามแต่ประชาชนส่วนมากนิยมเรียกว่าวัดพระเมรุจึงเป็นนาม ของวัดที่ใช้มาจนทุกวันนี้

ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา กล่าวถึงเหตุการณ์คราวทำสัญญาสงบศึกระหว่าง สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์กับพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง มีการปลูกพลับพลาเป็นที่ประทับ ซึ่งอยู่ด้านหน้าวัดพระเมรุกับวัดหัสดาวาส (ปัจจุบันวัดหัสดาวาสเหลือเพียงซากเจดีย์)

อีกตอนหนึ่งเมื่อคราวสมเด็จพระเจ้าอะลองพญามาตีกรุงศรีอยุธยา เมื่อเดือน ๖ ขึ้น ๑ ค่ำ.ศ ๒๓๐๓ พม่า เอาปืนใหญ่มาตั้งที่วัดพระเมรุราชิการามกับวัดหัสดาวาส พระเจ้าอะลองพญา ทรงบัญชาการและทรงจุดปืนใหญ่เอง ปืนใหญ่ที่ตั้งอยู่ในวัดพระเมรุราชิการามแตกต้องพระองค์

บาดเจ็บสาหัส ประชวรหนักในวันนั้น พอรุ่งขึ้น ๒ ค่ำ เดือน ๖ พ.. ๒๓๐๓ พม่าเลิกทัพกลับไป ทางเหนือหวังออกทางด่านแม่ละเมาะ แต่ยังไม่พ้นแดนเมืองตาก พระเจ้าอะลองพญาก็สิ้น พระชนม์ระหว่างทาง

6. วัดกษัตราธิราช

วัดกษัตราธิราช ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านป้อม อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นวัดโบราณที่มีความสำคัญวัดหนึ่ง (เดิมชื่อวัดกษัตรา) เป็นวัดกษัตริย์สร้างมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ตำบลที่ตั้งวัดเรียกว่า "บ้านป้อม" นั้น เพราะในสมัยกรุงศรีอยุธยาทางราชการได้สร้างป้อมไว้ มีชื่อว่า "ป้อมจำปาพล" ซึ่งเป็นป้อมนอกพระนคร ฟากตะวันตกขึ้นไว้ ณ ตำบลนี้ ทางด้านหลังวัดกษัตราออกไปมีทุ่งกว้างอยู่ทุ่งหนึ่ง เรียกว่า "ทุ่งประเชตุ" พม่าเคยยึดเอาทุ่งนี้เป็นที่มั่นตั้งกองทัพเข้าโจมตีพระนครศรีอยุธยาหลาย ครั้ง ดังปรากฎเรื่องราวอยู่ในพระราชพงศาวดารอยู่แล้ว และวัดกษัตรานี้ได้ถูกทำลายอย่างย่อยยับเยิน เมื่อคราวเสียกรุง ฯ ครั้งหลัง เมื่อ พ.. 2310 เพราะบริเวณที่ตั้งวัดอยู่คนละฟากฝั่งกับพระนคร เมื่อข้าศึกยกเข้าล้อมกรุง ฯ ผู้คนต้องพากันอพยพหลบหนี ถึงพระสงฆ์ก็คงอยู่ไม่ได้ วัดจึงล้างไปเลย ครั้นถึงสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์นี้ ปรากฏว่าสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ กรมขุนอิศรานุรักษ์ (เกศ) ในรัชกาลที่ 1 ทรงศรัทธาปฏิสังขรณ์วัดกษัตราขึ้นใหม่ทั่วทั้งพระอาราม ให้เป็นวัดมีพระสงฆ์อยู่จำพรรษาสืบต่อเนื่องกันมาจนถึงทุกวันนี้

สมเด็จ พระเจ้าหลานเธอ กรมขุนอิศรานุรักษ์ (เกศ) เป็นพระโอรสองค์ที่ 6 ในสมเด็จพระพี่นางเธอ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ ประสูติแต่ครั้งกรุงธนบุรี ปี 2316 (เป็นต้นสกุลอิศรางกูร) การปฏิสังขรณ์ครั้งนั้นแทบจะกล่าวได้ว่าเท่ากับเป็นการสร้างขึ้นใหม่ทั่ว ทั้งพระอารามเลยทีเดียว พระอุโบสถ พระปรางค์ ตลอดจนเสนาสะก็ได้ปฏิสังขรณ์โดยทั่วถึง เมื่อการปฏิสังขรณ์เสร็จบริบูรณ์แล้ว ได้โปรดประทานนามเพิ่มจากนามเดิมเป็น "วัดกษัตราธิราช"

ต่อมาในรัชกาลที่ 4 ในยุคพระอุปัชฌาย์มีพระครูวินยานุวัติคุณ (ทรง) ได้สร้างศาลาการเปรียญขึ้น 1 หลัง ซ่อมพระอุโบสถ สร้างวิหารคู่ 2 หลัง เจดีย์เหลี่ยม ศาลาตรีมุข 1 หลัง ศาลาด้านสะกัดเหนือใต้และตก รวม 3 หลัง หอสวดมนต์ ฯ เพิ่มขึ้นอีก โดยได้รับพระอุปถัมภ์จากกรมหมื่นอดุลยลักษสมบัติ (พระองค์เจ้าอุไร) ในรัชกาลที่ 3 (ต้นสกุลอุไรพงศ์) สร้างอยู่ 14 ปี เสร็จเมื่อปี 2422 ดังปรากฏตราสัญจกรณ์ในรัชกาลที่ 5 หน้าบรรณศาลาตรีมุข

บรรดาถาวรวัตถุใน วัดกษัตราธิราชที่ปรากฏอยู่ทุกวันนี้ นอกจากพระอุโบสถ พระปรางค์แล้ว ได้สร้างขึ้นในยุคพระครูวินยานุวัติคุณ (ทรง) เป็นส่วนมาก และเจ้าอาวาสองค์ต่อ ๆ มาจนถึงปัจจุบันนี้ก็ได้ปฏิสังขรณ์อีกเรื่อยมาโดยลำดับ



7. วัดท่าการ้อง

วัดท่าการ้องตั้งอยู่ที่บ้านท่า บนเนื้อที่ ไร่ ๗๘ ตารางวา หมู่ที่ ตำบลบ้านป้อม อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย สำหรับพื้นที่ตั้งของวัดโดยรวมเป็นที่ราบติดแม่น้ำเจ้าพระยาอยู่ทางทิศตะวัน ตกของเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา อยู่ห่างจากเกาะเมืองประมาณ กิโลเมตร มีอุโบสถ กว้าง ๑๑ เมตร ยาว ๒๒ เมตร บูรณะเมื่อปี พุทธศักราช ๒๕๐๘

วัดท่าการ้อง เป็นวัดโบราณมีมาแต่สมัยอยุธยา สร้างขึ้นก่อนปี พ.ศ. 2092 ประมาณ 450 ปี เศษมาแล้ว ไม่ปรากฏหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้างและสร้างในปี พ.ศ. ใด สันนิษฐาว่าคงเป็นวัดที่ราษฎรสร้าง เพราะไม่ปรากฏรายชื่อพระอารามหลวงสมัยอยุธยา ตามบันทึกพระราชพงศาวดาร วัดท่าการ้องมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์ของกรุงศรีอยุธยามากมาย

· วัดท่าการ้องได้เป็นที่ฝึกฝนศิลปะแม่ไม้มวยไทยของนักมวยไทยที่มีชื่อเสียง ท่านหนึ่งคือ นายขนมต้ม

· ในเสภาเรื่อง ขุนช้างขุนแผน มีการบันทึกว่า ขุนไกร และสามเณรพลายแก้ว ได้มาอุปสมบทที่วัดท่าการ้อง ตอนที่ขุนแผนถูกจองจำ ณ กรุงศรีอยุธยา ณ วันอังคาร ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 5 ปีกุน เวลาบ่าย 4 โมง พม่ายิงปืนสูงวัดการ้องระดมเข้ามา ณ กรุงศรีอยุธยาแล้วเอาเพลิงจุดเชื้อที่รากกำแพงทรุดลง

· ในปี 2309 วัดท่าการ้องได้เคยเป็นที่ตั้งค่ายของพม่าค่ายหนึ่งก่อนเสียกรุงศรีอยุธยา จนมีคำกล่าวว่า ".. นกกาจากวัดการ้อง บินไปเสียบอก ณ ยอดพระปรางค์วัดพระศรีมหาธาตุ ใจกลางกรุงศรีอยุธยา น้ำตาหลวงพ่อโต วันพนัญเชิง ไหลนองพระเนตร อันเป็นลางบอกเหตุสิ้นแล้วแผ่นดินกรุงศรีอยุธยา

· ในสมัยเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 วัดท่าการ้อง ได้ถูกจ้ดให้เป็นโรงเรียนนายร้อยฝ่ายช่างเทคนิค รุ่น 10-12 เป็นการชั่วคราว โดยใช้ศาลาการเปรียญเป็นห้องเรียน และเป็นที่พักอาศัยก่อนที่จะถูกปล่อยทิ้งขาดการเอาใจใส่ดูแลเป็นเวลานานจนทำ ให้ทรุดโทรมลงในที่สุด








8. วัดวรเชษฐ์และวัดวรเชษฐาราม

ประวัติ และความสำคัญ

พระราชพงศาวดารกล่าวว่า สมเด็จพระเอกาทศรถทรงโปรดให้สร้างวัดขึ้นเป็นที่บรรจุพระบรมอัฐิของสมเด็จ พระนเรศวรมหาราชพระเชษฐาของพระองค์

โดยกล่าวชื่อวัดไว้ในพระราชพงศาวดาร ว่า ?วัดวรเชษฐ์? บ้าง ?วัดวรเชษฐาราม? บ้าง แต่มีวัดร้างในเขตพระนครศรีอยุธยาที่เรียกชื่อทำนอง เดียวกันจำนวน แห่ง แห่งแรกตั้งอยู่ในกำแพงเมืองซึ่งในแผนที่พระ นครศรีอยุธยาของพระยาโบราณราชธานินทร์ .. ๒๔๖๙ ระบุชื่อว่า ?วัดวรเชษฐาราม? ยังเป็นชื่อเรียกในปัจจุบัน

แห่งที่สองตั้งอยู่นอก กำแพงเมืองทิศตะวันตกซึ่งในแผนที่พระนครศรีอยุธยาของ ดร. สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา .. ๒๕๑๐ ระบุชื่อว่า ?วัดประเชด? แต่หลักฐานในคำให้การ ชาวกรุงเก่า ระบุว่า กองทัพของพม่าทัพหนึ่งที่ยกเข้ามา ล้อมกรุงศรีอยุธยาเมื่อ .. ๒๓๑๐ ตั้งอยู่ที่ ?วัดวรเชษฐ์? ดัง นั้น ต่อไปนี้จะใช้คำว่า ?วัดวรเชษฐาราม? เมื่อกล่าวถึงวัดที่ตั้งอยู่ในเมือง และใช้คำว่า ?วัดวรเชษฐ์? เมื่อกล่าวถึงวัดที่ตั้งอยู่นอกเมือง

พระราชพงศาวดารฉบับพันจันทนุ มาศ (เจิม) และฉบับพระราชหัตถเลขา กล่าวเนื้อความตรงกัน เมื่อสมเด็จพระเอกาทศรถทรงราชาภิเษก ขึ้นครองราชสมบัติกรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.. ๒๑๔๘ ?ทรงสร้างวัดวรเชษฐารามวิหารอันรจนา พระพุทธปฏิมามหาเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ สำเร็จกุฎีสถานปราการสม ด้วยอรัญวาสี แล้วก็สร้างพระไตรปิฏกธรรมจบบริบูรณ์ทั้งพระบาลีและอรรถกถาฎีกาคันถีวิวรณ์ ทั้งปวง

จึงแต่งหอพระสัทธรรมเสร็จก็นิมนต์พระสงฆ์อรัญวาสีผู้ทรงศีลาธิ คุณอันวิเศษมาอยู่ครองพระวรเชษฐารามนั้นแล้ว ก็แต่งขุนหมื่นข้าหลวงไว้สำหรับอารามนั้น แล้วจำหน่ายพระราชทรัพย์ไว้ ให้แต่งจตุปัจจัยไทยทานถวายแก่พระสงฆ์เป็นนิจกาล แล้วให้แต่งฉทานศาลา แล้ว ประสาทพระราชทรัพย์ ให้แต่งโภชนาหารจังหันถวายแก่ภิกษุสงฆ์เป็นนิตยภัตรมิได้ขาด? การก่อ สร้างตามนัยแห่งพงศาวดารดังกล่าวมาเป็นการก่อสร้างก่อนที่จะมีพระราชพิธี ถวาย พระเพลิงพระบรมศพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ส่วนคำให้การชาวกรุง เก่ากล่าวว่า เมื่อสมเด็จพระเอกาทศรถได้ครองราชสมบัติแล้ว จึงให้ทำพระเมรุถวายพระเพลิงพระเชษฐาธิราช แล้วทรงสร้างวัดอุทิศพระราช กุศลถวายพระเชษฐาธิราชวัดหนึ่ง พระราชทานนามว่า วัดวรเชษฐ์ และคำให้การขุนหลวงหาวัดให้ข้อมูลที่แตกต่างออกไปว่าสมเด็จพระเอกาทศรถ สร้าง วัดไว้ที่ถวายพระเพลิงพระนเรศวรแล้วจึงสมมุตินามเรียกว่า วัดสบสวรรค์ พระองค์จึงสร้างวัดไว้ที่สวนฉลองพระองค์พระเชษฐา

วัดนี้เราพามากลาบไหว้องค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่กอบกู้เอกราชให้คนไทยครับ วัดนี้มีบางอย่างแปลกๆครับลองเดินไปที่ต้นจามจุรี3ต้นสิครับ ถ้าท่านเป็นคนที่มีศีลมีธรรมไหว้พระสวดมนต์เป็นประจำ หรือเคยเกิดในยุคของ องค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช จะรู้สึกได้ถึงสิ่งนั้นครับ







9. หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค (พระครูวิหารกิจจานุการ)

ออกจากวัดวรเชตเลี้ยวซ้ายตรงไปทาง อ.เสนา ประมาณ15ก.ม.ก็จะถึงวัดบางนมโคอยู่ทางด้านขวามือครับผู้คนมากราบไหว้กันเยอะครับโดยเฉพาะวันเสาร์อาทิตย์ครับ ครบเก้าวัดแล้วเป็นยังไงบ้างครับได้ความสุขใจกลับบ้านไปถ้าเจอสิ่งไหนดีๆช่วยบอกต่อด้วยครับ เพื่อคนอื่นจะได้รู้บ้าง ล้อหมุน.คอมคงต้องแยกทางกันตรงนี้แล้ว ออกจากวัดเลี้ยวขวาไป1ก.ม.เจอสี่แยกเลี้ยวซ้ายท่านจะอยู่บนถนนหมายเลข3111 ตรงเข้าสามโคกจ.ปทุมหรือออกเส้นกาญจนาภิเษกก็ได้ครับ เดินทางสวัสดิภาพครับ

หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วัดบางนมโคนี้ สร้างขึ้นมาตั้งแต่เมื่อไรไม่ปรากฏ บางท่านก็ว่ามีในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เดินชื่อวัดนมโค ครั้นเมื่อ พ.. 2310 ในคราวที่ควันแห่งศึกสงครามกำลังรุมล้อมกรุงศรีอยุธยา พม่าข้าศึกได้มาตั้งค่ายหนึ่งขึ้นที่ตำบลสีกุก ห่างจากวัดบางนมโค ซึ่งย่านวัดบางนมโคนี้มีการเลี้ยงวัวมากกว่าที่อื่นพม่า ก็ได้ถือโอกาสมากวาดต้อนเอา วัว ควาย จากย่านบางนมโคไปเป็นเสบียงเลี้ยงกองทัพ ในที่สุดกรุงศรีอยุธยาก็เสียแก่พม่า บ้านเมืองระส่ำระสาย วัดบางนมโค จึงทรุดโทรมไปบ้างตามกาลเวลา ต่อมาก็ได้มีการซ่อมแซมขึ้นใหม่ ก็ยังมี การเลี้ยงโคกันอยู่อีกมากมาย ชาวบ้านจึงเรียกติดปากว่า วัดบางนมโคอาณาเขตของวัดบางนมโค วัดบางนมโคมีเนื้อที่ทั้งหมด 24 ไร่ 21 วา 3 งาน ทิศตะวันออกจดที่ดิน เลขที่ 163 ทางสาธารณะประโยชน์ทิศตะวันตกจดที่มีการครอบครองแม่น้ำปลายนา ทิศเหนือจดที่ดินเลขที่ 134 มีการครอบครองแม่น้ำเก่าปลายนา ทิศใต้จดที่ดินเลขที่ 162, 163, 165 ทางสาธารณะประโยชน์

ไว้คราวหน้าจะหาประวัติหลวงพ่อปานมาให้อ่านกันครับเดี๋ยวจะเบื่อกันซะก่อน (แหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์อะไรกันพามาแต่วัด)อย่างนี้ต้องบอกว่านึกอะไรไม่ออกก็หันหน้าเข้าวัดก่อนเลยครับ ตั้งหลักก่อนทำใจให้สบายๆ แล้วค่อยไปต่อเน้อ









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น