ลาดชะโดแดนทำหรีด อดีตแหล่งรวมปลา เสาศาลาวัดต้นใหญ่
ภาพยนตร์ไทยมาถ่ายทำ งามล้ำด้วยสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น
ช่วยๆกันมาเที่ยวกันนะครับ ก่อนที่จะสูญพันธุ์ ตลาดเก่าไม่ไกลกรุงเทพ
.....ตลาดเก่า ร้อยปีลาดชะโดแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์อยู่ใน อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยาถ้าขับรถไป ก็ไปเส้นสายเอเซียเลยครับ (ออกทางรังสิต) พอเจอป้าย อยุธยา-วังน้อย ก็เลี้ยวซ้ายตามป้ายอยุธยาไปเลยครับ แล้วก็ตรงอย่างเดียว ผ่านเจดีย์ใหญ่ ข้ามสะพาน ตรงไปเรื่อยๆ เจอ 3 แยกก็ เลี้ยวขวา สำนักงานอยู่ติดริมถนน อยู่ทางซ้ายมือ ส่วนถ้าไม่มีรถก็สามารถไปขึ้นรถได้ที่หมอชิต สาย กทม. - ผักไห่ (อยุธยา) มาลงที่ตัวอำเภอผักไห่ แล้วค่อยเหมานั่งสามล้อมาตลาดลาดชะโด ตกอยู่ที่คันละ 50 บาท (ราคานี้ ราคาเหมาไปนะ ไปกันสัก 3-4 คน ที่ อ.ผักไห่ โดยเฉพาะสายน้ำเส้นนี้และตลาดลาดชะโด
.....ตลาดเก่า ร้อยปีลาดชะโดแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์อยู่ใน อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยาถ้าขับรถไป ก็ไปเส้นสายเอเซียเลยครับ (ออกทางรังสิต) พอเจอป้าย อยุธยา-วังน้อย ก็เลี้ยวซ้ายตามป้ายอยุธยาไปเลยครับ แล้วก็ตรงอย่างเดียว ผ่านเจดีย์ใหญ่ ข้ามสะพาน ตรงไปเรื่อยๆ เจอ 3 แยกก็ เลี้ยวขวา สำนักงานอยู่ติดริมถนน อยู่ทางซ้ายมือ ส่วนถ้าไม่มีรถก็สามารถไปขึ้นรถได้ที่หมอชิต สาย กทม. - ผักไห่ (อยุธยา) มาลงที่ตัวอำเภอผักไห่ แล้วค่อยเหมานั่งสามล้อมาตลาดลาดชะโด ตกอยู่ที่คันละ 50 บาท (ราคานี้ ราคาเหมาไปนะ ไปกันสัก 3-4 คน ที่ อ.ผักไห่ โดยเฉพาะสายน้ำเส้นนี้และตลาดลาดชะโด
......ใครจะรู้ว่าเป็นสถานที่ที่ หนังหลายเรื่องยกกองมาถ่ายทำ สถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์ไทยและละครโทรทัศน์หลายเรื่อง อาทิเช่น “บุญชู” “รักข้ามคลอง” “สตางค์” “ชื่อชอบชวนหาเรื่อง” “ดงดอกเหมย” “ความสุขของกะทิ” เป็นต้น .....ชุมชนลาดชะโดมีอายุเก่าแก่ราวสมัยหลังเสียกรุง ศรีอยุธยาครั้งที่ 2 หรือ ราวปีพ.ศ. 2310 ก่อตั้งขึ้นโดยชาวกรุงเก่าที่อพยพหนีศึกสงครามมาในครั้งนั้น พื้นที่บริเวณที่ตั้งชุมชนแต่เดิมเรียกว่า“บ้านจักราช” แต่การที่หมู่บ้านนี้มีชื่อว่า “บ้านลาดชะโด” น่าจะมีที่มาจากสภาพพื้นที่ที่เป็นที่ลาดริมน้ำ และความอุดมสมบูรณ์ของคูคลองที่มีอยู่มากมายและอุดมไปด้วยปลาชนิดต่างๆโดย เฉพาะปลาชะโด ถึงขนาดมีคำเตือนกันว่าเวลาพายเรือให้ระวังไม้พายจะไปโดนปลาชะโดเข้า
.....ชาว บ้านลาดชะโดแต่เดิมคงมีการปะปนกันหลายเชื้อชาติ ที่มีมากคือไทยและมอญ การ ตั้งบ้านเรือนนิยมทำเลริมน้ำ อาชีพหลักของชาวบ้านคือทำนา เพราะหมู่บ้านอยู่ใกล้ทุ่งลาดชะโด ซึ่งเป็นพื้นที่ดินตะกอนปากแม่น้ำที่ อุดมสมบูรณ์ มีคลองลาดชะโดซึ่งเชื่อมต่อกับจังหวัดสุพรรณบุรีเป็นทางน้ำ สำคัญ นับว่าเป็นหมู่บ้านที่เป็นอู่ข้าวอู่น้ำในแถบนี้
.....ปัจจุบัน บ้านลาดชะโดได้พัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา อย่างไรก็ดี ชุมชนนี้ ยังมีลักษณะของชุมชนเก่าแก่ที่มีองค์ประกอบของชุมชนอย่างครบถ้วน มี พัฒนาการมาจากตลาดน้ำที่มีเรือนแพค้าขาย ปัจจุบันยกจากน้ำขึ้นบกกลายเป็น ตลาดวิถีชีวิตริมน้ำของคนภาคกลางริมคลองลาด ชะโด .......ลักษณะตลาดเป็น เรือนแถวขนาดใหญ่หันหน้าเข้าหากันทางเดินกว้างขวาง .......ลาดชะโดในอดีต เป็นศูนย์กลางการค้าขาย คึกคัก เต็มไปด้วยผู้คนที่มาทำการค้าขายระหว่างกัน ....... มีโรงสีข้าว ใช้เส้นทางสัญจรทางน้ำ เป็นหลัก บางคนอาจจะเข้ามาเพื่อที่จะเอาข้าวมาสีที่โรงสี ซึ่งโรงสีที่นี่เปรียบ เหมือนธนาคารของผู้ค้าข้าวคาดว่าในอดีตที่แห่งนี้น่า จะเป็นตลาดขนาดใหญ่เพราะมี โรงภาพยนตร์ด้วย ด้านทรัพยากรธรรมชาติก็มีปลาน้ำจืดชุกชุม เป็นภาพที่แสดงถึงความอุดม สมบูรณ์ทั้งทรัพยากรและผู้คน
.......ความน่าสนใจและเสน่ห์ของตลาดเก่าแก่ แห่งนี้ที่ดึงดูดให้สถานที่แห่ง นี้ได้ใช้เป็นฉากถ่ายภาพยนต์แล ะละคร ย้อนยุคหลายๆ เรื่อง เช่น ดงดอกเหมย รักข้ามคลองและบุญชู และความสุขของกะทิ เป็นต้น .......นอกจากนี้ลาดชะโดยังเป็นบ้านเกิดของศิลปินนักร้องและนัก แต่งเพลงใน ยุค 70’s คุณธีรศักดิ์ อัจจิมนนท์ ผู้ขับร้องเพลงกุหลาบสีแดงและลมลวง ที่เคยโด่งดังและได้รับความนิยมมากในอดีต
.......ตลาดลาดชะโด ก่อตั้งมาแล้วเป็นเวลาประมาณ 51 ปี โดยพัฒนามาจากตลาดน้ำ ชุมชนเดิมใน ตลาดมาจากชุมชนเรือนแพค้าขาย เกิดเป็นรูปแบบของตลาดน้ำ ต่อมาวัดลาดชะโด ได้ยอมยกพื้นที่ริมน้ำซึ่งเป็นพื้นที่ของวัดให้ชุมชนได้ทำมา ค้าขาย ใน ช่วงแรกมีการจับฉลากในการให้สิทธิ์พื้นที่ในตลาด ชุมชนค้าขายของชาวเรือนแพจึงได้อพยพจากน้ำขึ้นสู่บกโดยในการก่อสร้างตลาด นั้นเริ่มตรงพื้นที่ที่ติดคลองลาดชะโดแล้วขยายเข้าไป สู่ฝั่งเรื่อยๆ ค่า ใช้จ่ายในการก่อสร้างนั้นใช้ระบบเรือนค้าของผู้ใดผู้นั้นก็ออกเงินในการ ก่อสร้างเอง ส่วนที่เป็นสาธารณประโยชน์ อาทิ ท่าขนส่งสินค้า หรือ หลังคารวมในตลาดสมาชิกผู้อาศัยในตลาดจะออกเงินเป็นกองกลางในการก่อสร้าง ตลาด ลาดชะโดจึงได้ดำเนินการตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา และเป็นตลาดที่คึกคักรุ่งเรืองมากในสมัยนั้น
.....ในปี พ.ศ. 2526 – 2527 ได้มีการถมที่บางส่วนที่เป็นลำคลองเพื่อสร้างเป็นถนนเชื่อมจากทางหลัก ทำ ให้การคมนาคมทางบกเข้ามาประชิดตัวตลาดลาดชะโด ทำให้ตลาดลาดชะโดซบเซาลง นอก จากนี้ยังมีการเปิดตลาดนัดซึ่งเป็นที่นิยมอย่างมาก จึงมีผลกระทบต่อตลาดลาดชะโด จนทำให้เรือนค้าในตลาดเริ่มร้างไร้ผู้คน หลายคนอพยพออกจากชุมชนตลาดเข้าสู่เมือง เรือนค้าจึงเปลี่ยนเป็นที่อยู่ อาศัยมากขึ้น และโรงเรียนที่นี่สร้างเป็นรูปตัว E ซึ่ง ผอ.โรงเรียนบอกว่า น่าจะมีระเบียงชั้นเรียนยาวที่สุดในประเทศไทยนะ ไม่ธรรมดาเลยนะครับ ถ้าว่างๆน่าจะลองแวะมาเที่ยวบ้างนะครับ
.........นอกจากนี้บริเวณใกล้เคียงมีสถานที่น่าสนใจได้แก่ - วัดลาดชะโด วัดเก่าแก่ที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา แวะสักการะรูปเหมือน หลวงพ่ออุปฌาย์ อิ่ม ธมฺมสาโร (อิ่ม ผาสุกถ้อย) อดีตเจ้าอาวาสวัดลาดชะโด ซึ่งเป็นที่เคารพของผู้คนในชุมชน ชมศาลาการเปรียญเก่าแก่ ขนาดใหญ่ที่สุดในกรุงเก่า สร้างมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2456 เสาทำจากซุงไม้ตะเคียนทั้งต้น พื้นทำจากไม้สักทองทั้งหลัง - โรงเรียนวัดลาดชะโด (ประกาศวิทยาคาร) มีอาคารเรียนสร้างด้วยไม้ใต้ถุนสูง รูปตัว E สร้างเมื่อ ปี พ.ศ.2503 เป็นอาคารไม้ที่ยาวที่สุดในประเทศไทย บริเวณหน้าโรงเรียนวัดลาดชะโด มีปลาธรรมชาติมากมาย อาทิ ปลาชะโด ปลากราย ปลาหางแพน ปลาสวาย ปลาสลาด และปลาแสลด - บ้านขุนพิทักษ์บริหาร เป็นบ้านไม้ทรงโบราณ 2 ชั้น ติดกับแม่น้ำน้อย เป็นที่อยุ่อาศัยของคหบดีซึ่งทำการขนส่งทางเรือในอดีต การเดินทาง จากอำเภอผักไห่ ใช้เส้นทาง 3454 เข้าทางวัดอมฤต (เทศบาลซอย 14)ถึงตลาดลาดชะโด
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ เทศบาลตำบลลาดชะโด เลขที่ 99 หมู่ 1 ตำบลหนองน้ำใหญ่ อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
หมายเลขโทรศัพท์ 0 3574 0263 - 4
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น