ไหว้หลวงพ่อใหญ่ วัดม่วง วิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง (พระพุทธมหานวมินทร์ศากยมุนีศรีวิเศษชัยชาญ)
สวัสดีทุกท่านกับวันที่น้องน้ำจากไปแต่ไม่ได้ไปแล้วไปลับเพราะอีก7-8เดือนเธอจะกลับมาใหม่
กว่าจะโผล่มาได้หลังจากที่โดนกระแสน้ำท่วมฟีเวอร์เล่นเอาโรงเรียนปิดกันยาว วัด สถานที่ ต่างๆเสียหายไปตามกัน ที่น่าเสียดายมากคือโบราณสถาน สถานที่ท่องเที่ยวประวัฒิศาสตร์ ที่โดนน้ำท่วม ในเมื่ออยุธยายังต้องรอการฟื้นฟู เราก็เลยแวะไปเที่ยวจังหวัดเพื่อนบ้าน ที่มี เรื่องราวประวัฒิศาสตร์ มากมายที่ไม่น้อยกว่าอยุธยา
วันนี้เราพากันไปที่จังหวัดอ่างทอง ช่วงนี้อากาศไม่ค่อยร้อนมากและใกล้เทศกาลปีใหม่ถ้าใครยังไม่เคยมารีบมาเลยขอบอก มาวัดนี้บอกได้เลยว่าคุ้มมากๆมีอะไรๆให้ดูแยอะ มีทั้งความบันเทิง และ ให้ความรู้ ให้ประโยชน์ ให้เราหยุดเดิน ให้เราหยุดคิด หรือจะเดินหน้าต่อไป ถ้ามีเวลาว่างก็รีบชวนลูกชวนหลานมาเที่ยวที่วัดม่วง อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง รับรองเป็นอีกหนึ่งแห่งที่ทีมงาน ล้อหมุน.คอม ไม่ทำให้ผิดหวังแน่นอน ที่นี่มีพระองค์ใหญ่มาก และด้านหน้าองค์พระก็ยังมีรูปั้นจำลอง ขนาดเท่าของจริง มีเรื่องราวมากมาย ให้ดูให้ชม โบถร์แก้วสวยงามไม่แพ้ที่อื่นเหมือนกัน กำแพงดอกบัว ที่ขาดไม่ได้ก็ให้อาหารปลานี่แหละที่บ่งบอกถึงความอุดมสมบูรณ์
หลายปีมาแล้วเคยนั่งรถผ่านเห็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่ตั้งอยู่กลางทุ่งก็นึกในใจว่าถ้ามีโอกาศจะแวะมาสักการะบูชาและแล้ววันนั้นก็มาถึง พอไปถีงบอกได้ว่าเป็นพระพุทธรูปที่ใหญ่มากๆที่มีความสูงถึง95เมตรหน้าตักกว้าง63เมตรเรียกได้ว่าเป็นพระพุทธรูปที่ใหญ่ที่สุดในโลกใช้เงินสร้างถึง104ล้านบาท ใช้ระยะเวลาสร้างร่วม16ปี
ประวัติความเป็นมา วัดม่วง
เดิมทีวัดม่วงเป็นวัดร้าง สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ปี พ.ศ. ๒๒๓๐ ณ. แขวงเมืองวิเศษชาญ ซึ่งเคยได้เป็นเมืองหน้าด่าน ที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาก ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๓๑๐ กรุงศรีอยุธยาได้เสียกรุงให้แก่พม่า พม่าได้เผาผลาญบ้านเมือง วัดวาอาราม และพระพุทธรูปไปเป็นจำนวนมาก สิ่งที่หลงเหลืออยู่ คือ ซากปรักหักพังของวัดวาอาราม และพระพุทธรูป ที่อยู่บนเนินมีต้นไม้ใหญ่จำนวนมาก
เมื่อวันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๕ ท่านพระคูวิบูลอาจารคุณ ( หลวงพ่อเกษม อาจารสุโภ ) ได้มาปักกลดธุงดงค์เห็นว่าบริเวณนี้เคยเป็นวัดร้าง จึงน่าปฏิบัติธรรม แต่ขณะปฏิบัติธรรม ได้ปรากฏนิมิต เห็นองค์หลวงปู่ขาว และหลวงปู่แดง มาบอกว่าให้ท่านได้ช่วยก่อสร้างวัดม่วงขึ้นมาใหม่ เพราะท่านพระครู เป็นผู้มีบารมี ที่สามารถจะก่อสร้างบูรณะวัดม่วง ขึ้นมาใหม่ได้ด้วย ผู้ที่เคยอาศัยในสมัยก่อนได้มาเกิด และจะมาช่วยท่านแล้ว และในบริเวณวัดร้างนี้จะมีศิลาขาว และศิลาแดงอยู่ คือ องค์ของหลวงปู่ขาว และหลวงปู่แดง นั้นเอง ซึ่งต่อมาท่านพระครูวิบูลอาจารคุณ ได้มีการปั้นองค์พระครอบศิลาขาว และศิลาแดงไว้ โดยเรียกนามว่า หลวงปู่ขาว และหลวงปู่แดง จนถึงปัจจุบันนี้
ในปีพ.ศ. ๒๕๒๖ ท่านพระครูวิบูลอาจารคุณ ได้มีการเริ่มบูรณะและได้สร้างเสนาสนะต่าง ๆ ขึ้น โดยได้รับการบริจาค ทั้งเงินทำบุญ และทำบุญด้วยแรงงาน ร่วมกันดำเนินงานในการก่อสร้าง
จนกระทั้งวันที่ ๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๗ กระทรวงศึกษาธิการ จึงได้มีการประกาศยกฐานะให้วัดม่วง ซึ่งเคยเป็นวัดร้างให้เป็นวัดที่มีพระสงฆ์
เมื่อวันที่ ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๗ ได้มีการแต่งตั้งท่านพระครูวิบูลอาจารคุณเป็นเจ้าอาวาสวัดม่วง ต.หัวตะพาน อ.วิเศษชัยชาญ จ. อ่างทอง
เมื่อวันที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ.๒๕๒๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ แห่งราชจักรี ได้ทรงพระราชทานวิสุงคามสีมาให้แก่วัดม่วง เป็นต้นมา
ในปีพ.ศ. ๒๕๓๔ ท่านพระวิบูลอาจารคุณ ได้ร่วมพลังจิตอธิฐาน ร่วมกับประชาชนผู้มีจิตศรัทธาทั่วประเทศ ได้สมทบทุนสร้างพระพุทธรูปที่ใหญ่ที่สุดในโลก เพื่อน้อมถวาย แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชรัชกาลที่ ๙ และราชวงศ์จักรี มีพระนามว่า พระพุทธมหานมินทร์ศากยมุนีศรีวิเศษชัยชาญ มีหน้าตักกว้าง ๖๒ ม. สูง ๙๓ ม. มูลค่าในการก่อสร้าง ๑๐๖,๐๐๐,๐๐๐ บาท ( หนึ่งร้อยหกล้านบาท )
ประวัติความเป็นมา พระพุทธมหานวมินทร์ศากยมุนีศรีวิเศษชัยชาญ วัดม่วง (หลวงพ่อใหญ่)
หลวงพ่อเกษม อาจารสุโภ เป็นผู้วางศิลาฤกษ์ ด้วยตัวของท่านเอง เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2534 และต่อมา วันที่ 2 พฤษภาคม 2534 ได้ทำพิธีตอกลงเข็มเสาเอก หลวงพ่อเกษมเป็นประธานดำเนินการก่อสร้าง ร่วมกับลูกศิษย์และ ประชาชนผู้มีใจบุญทั้งหลาย เข้ามาร่วมกันก่อสร้างองค์พระ ทำให้ได้มีเงินทุนมากพอ ในการก่อสร้าง การหล่อหลอมสร้างองค์พระ ใช้วัสดุ อิฐ หิน ปูน ทราย หลวงพ่อใช้เงินทุกบาท ทุกสตางค์ จากผู้มาบริจาคในวัด เงินจากที่หลวงพ่อออกปฎิบัติกิจนิมนต์ เงินจากการทอดกฐิน ทอดผ้าป่า และงานบุญต่างๆในวัด และพร้อมด้วยคณะศิษย์ของหลวงพ่อ โดยหลวงพ่อได้ควบคุมการก่อสร้างเองมาตลอด มาระยะหลัง หลวงพ่อเกษมตรากตรำงานมาก จึงมีร่างกายอ่อนเพลีย ได้ให้หมดตรวจร่างกาย พบว่าเป็นมะเร็งที่ตับ จึงเข้ารับการรักษา ที่โรงพยาบาลศิริราช ตึก 84 ปี ชั้น 9 ห้อง 925 หมอได้ทำการรักษาไม่กี่เดือน ก็ได้มรณภาพลง เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2544 ศิริอายุได้ 54 ปี 6 เดือน 7 วัน
หลวงพ่อเกษม เคยสั่งบอกฝากกับลูกศิษย์ การก่อสร้างองค์พระ ให้ช่วยกันก่อสร้างต่อจากหลวงพ่อ ให้เสร็จ และหลวงพ่อเกษมได้ตั้งนามองค์พระเอาไว้ว่า "พระพุทธมหานวมินทร์ศากยมุนีศรีวิเศษชัยชาญ" พระนามนี้หลวงพ่อเกษมตั้งใจสร้างองค์พระนี้ เพื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่9 คณะลูกศิษย์หลวงพ่อเกษม ได้พร้อมใจรวมพลัง ช่วยกันสร้างร่วมกับ ประชาชนผู้มีจิตศรัทธาด้วย จนการก่อสร้างองค์พระ ได้เสร็จสมบูรณ์ เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2550 มีระยะเวลาการก่อสร้างรวมประมาณ 16 ปี และวัดหน้าตักองค์พระได้ 63.05 เมตร ความสูงจากฐานองค์พระ ถึงยอดเกศา วัดได้ 95 เมตร ใช้เงินประมาณ 104,261,089.65 บาท
พระพุทธมหานวมินทร์ศากยมุนีศรีวิเศษชัย ชาญ ก่อสร้างเป็นคานคอนกรีตเสริมเหล็กเป็นชั้นๆ แบบโครงสร้างตึกสูง ๓๒ ชั้น ก่ออิฐถือปูนฉาบทาสีทอง ตลอดทั้งองค์
? หน้าตักกกว้าง( หัวเข่าขวา-หัวเข่าซ้าย)กว้าง ๖๒.๐๐ เมตร
? ความสูง(จากพื้นดิน-พระเกศา)สูง ๙๓.๐๐ เมตร
? ช่วงแขน(หัวไหล่-ข้อศอก)ยาว ๒๕.๐๐ เมตร
? (ข้อศอก-ข้อมือ)ยาว ๓๐.๐๐ เมตร(ข้อมือ-ปลายนิ้ว)
ยาว ๑๕.๐๐ เมตร(หน้าอก)กว้าง ๗๕.๖๐ เมตร
? ใบหน้า(ปลายคาง-หน้าผาก)สูง ๑๒.๐๐ เมตร(จมูก-หน้าผาก)สูง ๙.๕๐ เมตร(ใบหู)สูง ๔.๐๐ เมตร
? เศียร(พระศอ-พระเกศ (เลาธาตุ) )สูง ๒๖.๕๐ เมตร
? (พระศอ-พระเมาลี)สูง ๒๔.๐๐ เมตร* พระเกศสูง ๑๓.๐๐ เมตร
? * พระเมาลีสูง ๔.๗๐ เมตร
? เปลวรัศมีเม็ดพระศกสูง ๑๕.๐๐ เมตร(ประดับเม็ดพระศก ๕๐๖ เม็ด แต่ละเม็ด มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑.๒๐ เมตร)
เริ่มวางศิลาฤกษ์ในวันเสาร์ที่ ๙ มีนาคม ๒๕๓๔ ( วันแรม ๙ ค่ำ เดือน ๔ ) ปีมะเมีย วางศิลาฤกษ์เวลา ๙.๐๐ น. โดยสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดสุวรรณคาราม กทม. ประธานฝ่านสงฆ์ คือ หลวงพ่อเกษม อาจารสุโภ ซึ่งเป็นประธานในการดำเนินการก่อสร้างและหาทุน
สร้างเสร็จสิ้น ในวันศุกร์ที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๕๐ ( วันขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๘ ) ปีกุน รวมเวลาในการก่อสร้างพระพุทธรูป ๑๖ ปี
มูลค่าในการก่อสร้าง รวมทั้งสิ้น ๑๐๖ ล้านบาท จากจิตศรัทธาพุทธศาสนิกชนชาวไทยและชาวต่างประเทศ
วัดม่วง
บ้านหัวตะพาน หมู่ที่ 6 ตำบลหัวตะพาน
อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น