ประกาศ
สำหรับท่านที่เข้าชมหน้าเว็บต่างๆของบล็อกผ่านทาง internet
explorer ไม่ได้
ให้ท่าน download IE ตัวอื่นมาใช้แทน
internet explorer เช่น firefox ,google chrome หรือโปรแกรมอื่นๆครับ
ขอขอบคุณครับ
แนะนำ Firefox http://www.mozilla.org/th/firefox/new/
เทศกาลเข้าพรรษา
ชวนกันมาใส่บาตรที่ วัดธรรมิกราช (ให้เต็มกันเถอะ)
สวัสดีครับทุกๆท่าน หายกันไปหลายเดือนสำหรับทีมงานล้อหมุน.คอม
ถึงมาช้าหน่อยแต่มาแน่นอนครับ ช่วงนี้เทศกาลเข้าพรรษา ทีมงานก็เลยอยากชักชวนกันมาทำบุญกันบ้างครับ
เพื่อเป็นศิริมงคลให้กับตนเองและครอบครัว หลายคนสงสัย
ทำไมต้องไปใส่บาตรที่วัดธรรมิกราชด้วย "พระเดินบิณฑบาตผ่านบ้านฉันทุกวัน ทำไมจะต้องไปให้มันเปลืองน้ำมันรถทำไม๊"
ก็เพราะว่าบาตรที่วัดนี้ไม่เหมือนบาตรที่พระอุ้มผ่านหน้าบ้านเจ๊ทุกวันสิครับ(ดูรูปประกอบ) เรื่องมีอยู่ว่าทีมงานล้อหมุน.คอม ขับรถผ่านหน้าวัดธรรมิกราชช่วงตอนบ่าย
ก็มีแสงบางอย่างแว๊บผ่านเข้ามาด้านทางวัด ด้วยความสงสัยทีมงานเลยเลี้ยวรถกลับไปดูที่มาของแสง
ขับเข้าไปในวัดเห็นรูปปั้นเศียรพระขนาดใหญ่
ตั้งอยู่คู่กันกับบาตรเงินใบใหญ่ ทีมงานก็ยังงงว่ามีวัดโบราณอยู่ตรงนี้ด้วยหรือ
แต่ก็พอจะเดาได้ว่าแสงที่ทำให้ทีมงานเลี้ยวรถกลับมาดู คือแสงสะท้อนจากดวงอาทิตย์ยามบ่ายที่มากระทบกับบาตรเงินใบนี้นี่เอง
(ที่จริงทีมงานก็ขับผ่านหน้าวัดนี้กันอยู่บ่อยๆแต่ไม่ได้สังเกตุเพราะจะผ่านกันตอนช่วงตอนเย็น)
และนี่คือสาเหตุที่ชวนกันมาใส่บาตรที่วัดธรรมิกราชภายในวัดธรรมิกราช ภายในบริเวณมีโบราณวัตถุหลายจุดให้ชมกัน ตั้งแต่เจดีย์ล้อมด้วยสิงห์
พระวิหารเก้าห้อง เศียรพระพุทธรูปหล่อสำฤทธิ์
บ่อน้ำโบราณศักดิ์สิทธิ์ของวัด ประมาณปี๒๔๘๔ และบาตรเงินใบยักษ์
ที่สามารถเก็บภาพได้
เศียรพระพุทธรูปหล่อสำฤทธิ์เป็นศิลปะสมัยอู่ทอง เดิมอยู่ในวิหารหลวงมีความศักดิ์สิทธิ์มาก กล่าวว่าผู้ใดเป็นคดีความกันมาสาบานต่อหน้าพระพักตร์คนผิดต้องตายหรือมีอัน เป็นไปทุกคนเป็นที่กล่าวขานกันมาก
สมัยที่พระยาโบราณราชธานินทร์ เป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า
จัดตั้งพิพิธภัณฑ์ในพระราชวังจันทรเกษม ได้นำเศียรพระพุทธรูปนี้ไป ต่อมากรมศิลปากรจึงนำไปไว้ที่พิพิธภัณฑ์เจ้าสามพระยา ความศักดิ์สิทธิ์จึงคลายไป
ทางเข้าประตูวัดด้านหน้าเล็กมาก
เพราะฉะนั้นถ้าขับรถผ่านไม่สังเกตุให้ดีก็อาจขับเลยได้ครับ
แต่ยังมีนักท่องเที่ยวแวะเข้ามามากทุกวันครับ เปิดทุกวัน เวลา 08.30-16.30 ใส่บาตรแล้วอย่าลืมหาของอร่อยๆทานกันแล้วค่อยเดินทางกันต่อนะครับ
วัดธรรมิกราช
วัดธรรมิกราช ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออกติดกับแนวกำแพงพระราชวังโบราณ
โดยมีถนนคั่นไว้ ด้านหน้าของวัดอยู่ทางทิศตะวันออก ดังนั้นท้ายวัดก็คือ ด้านทิศตะวันตก
หรือด้านหน้าพระราชวังนั่นเอง
พระเศียรของพระพุทธรูปสำริดขนาดใหญ่ (กว้าง 1.40 เมตร สูง 1.80 เมตร)
ที่จัดแสดงไว้ชั้นล่างของอาคารหลักที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา นั้น
มีคำอธิบายว่าเป็นศิลปะแบบอู่ทอง หรือศิลปะแบบสมัยอยุธยาตอนต้น เนื่องจากพระพักตร์ของพระพุทธรูปค่อนข้างเป็นสี่เหลี่ยมในแบบประติมากรรมของ
ขอมเขมร เมื่อรวมกับตำนานในพงศาวดารเหนือที่กล่าวว่าพระยาธรรมิกราช พระราชโอรสของพระเจ้าสายน้ำผึ้งเป็นผู้สร้างวัดนี้ขึ้น
ต่อมาจึงให้ชื่อวัดว่า วัดธรรมิกราช ตามพระนามกษัตริย์ผู้สร้าง จากเหตุผล 2
ข้อดังกล่าวจึงเชื่อกันว่าวัดนี้น่าจะสร้างก่อนที่พระเจ้าอู่ทองสร้างกรุง
ศรีอยุธยาเสียอีก
อาคารสำคัญของวัดคือ วิหารหลวงขนาด 11 ห้อง (19
x 53 เมตร) ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำริดขนาดใหญ่ ที่ยังเหลือเพียงพระเศียรดังกล่าวข้างต้น
วิหารนี้ยังมีกำแพง ซึ่งเจาะช่องรับแสงแบบวัดหน้าพระเมรุเหลืออยู่ และยังมีเสาวิหารขนาดใหญ่ที่ใช้รองรับเครื่องบน
วิหารนี้มีกำแพงแก้วล้อมรอบ (33 x 80 เมตร)
เนื่องจากขนาดที่ใหญ่และตั้งอยู่ด้านหน้าพระราชวัง จึงให้ชื่อวิหารนี้กันว่า
พระวิหารทรงธรรม
วิหารหลวงมีอาคารขนาดใหญ่ขนาบด้านข้างทั้ง 2 ด้าน ด้านเหนือเป็นฐานของวิหารขนาดใหญ่ ส่วนด้านใต้เป็นอุโบสถ อาคารนี้น่าจะสร้างขึ้นใหม่ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ด้านทิศเหนือของวัดใกล้กับองค์เจดีย์ มีวิหารพระนอน หรือพระพุทธไสยาสน์ขนาดยาว 12 เมตร หันพระพักตร์ไปทางทิศเหนือ ที่ฝ่าพระบาทมีรอยมงคลปิดทองประดับกระจก วิหารแห่งนี้ซ่อมแซมในสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม พ.ศ. 2499 ภายหลังจากการบูรณะจึงมีพระสงฆ์จำพรรษาอีกครั้งหลังจากเป็นวัดร้างมาแต่ ครั้งเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ 2
หลักฐานที่แสดงให้เห็นความสำคัญของวัดนี้ในสมัยอยุธยานอกเหนือจากเรื่องที่ ตั้งและขนาดที่ใหญ่โตแล้ว ในสมัยอยุธยาตอนปลาย เมื่อพระเจ้าบรมโกศสวรรคตเมื่อปี พ.ศ. 2301 นั้น ได้เกิดเหตุการณ์พระราชโอรสแย่งชิงราชสมบัติกัน กระทั่งพระราชาคณะ 5 รูป จาก 5 วัดสำคัญของอยุธยาต้องออกมาเกลี้ยกล่อมให้เหล่าพระราชโอรสของพระเจ้าบรมโกศ สมานฉันท์และยอมรับการเป็นกษัตริย์ของพระเจ้าอุทุมพร หนึ่งในพระราชาคณะนี้คือ พระธรรมโคดมแห่งวัดธรรมิกราช (อีก 4 รูป ได้แก่ พระธรรมเจดีย์ วัดสวนหลวงสบสวรรค์, พระพุทธโฆษาจารย์ วัดพุทไธศวรรย์, พระเทพมุนี วัดกุฎีดาว และพระเทพกระวี วัดพระรามาวาส)
Wat Thammikarat Ayutthaya
Wat Thammikarat is located in the east adjoined the Ancient Palace city walls, but separated by a road. The temple turns its face to the east, and turns its back to the west or the front of the Royal Palace.
The Buddha image’s head made of archaic
A big Buddha image’s head made of archaic (1.40 meters wide and 1.80 meters high) was moved from the temple and displayed on the first floor of Chao Sam Phraya National Museum. He was indicated to be in U-thong or early Ayutthaya artistic style due to his rather squared face like that of Khmer architecture, including the legend saying about Phraya Thammikarat, King Sainampheung’s son and the builder of the temple. Later this temple was named “Thammikarat” in the name of the King who built the temple. From the two reasons mentioned, this temple should have been built before the reign of King U-thong, the founder of Krung si Ayutthaya.
The important building in Wat Thammikarat was Wihan Luang (The Grand Wihan) in the size of 11 rooms (19 x 53 meters). A big Buddha image made of archaic was situated in the wihan, the one only the head left and kept at the museum. The temple walls were punched holes to receive sunlight like those of Wat Na Phra Mane, and the big pillars used to support the roof are still left. This wihan was surrounded by a wall (33 x 80 meters). Due to the fact that this temple was very big, and it was located in front of the Royal palace; it was called “Phra Wihan Songtham (The wihan for doing royal merit).
The stupa in the form of overturned bell surrounded by models of lions
In front of Wihan Luang, there was a stupa in the form of overturned bell, but the top half of it was damaged. Models of standing lions made of mortar in Khmer artistic style surrounded the stupa. It is possible that the stupa might have been built in the reign of King Prasat Thong which Khmer artistic style was favorite.
Additionally, two big buildings were constructed on both sides of Wihan Luang. The big base indicates a big wihan in the north and the Ubosot was in the south. The big building might be built in early Rattanakosin (Bangkok) period.
North of the temple near the stupa, there was a wihan for a reclining Buddha image or called in Thai “Phra Buddha Saiyad” in the size of 12 meters long. The image turned his face to the north, and his feet palms were carved with auspicious marks covered with gold leaves and decorated with pieces of glass. This wihan was renovated by the government led by Field Marchal Por Piboonsongkhram in 1956. After the renovation, there were monks staying in the temple after it had been deserted for a long time after Ayutthaya was completely destroyed.
The foundation revealing the importance of this temple was not only from its big size, but also from the location revealed since the late Ayutthaya period. After King Boromakot died in 1758, his sons became rivals and fought for the throne. Heads of the Buddhist monks from 5 important temples in Ayutthaya tried to talk the princes into friendly agreement and raised Prince Uthumphon to be king. One of the heads of monks was Phra Thammakhodom from Wat Thammikarat (The other four are: Phra Thammachedi from Wat Suanluang Sobsawan, Phra Buddha Kosajan from Wat Buddhai Sawan, Phra Thepmunee from Wat Kudeedao and Phra Thepkrawee from Wat Ramawat).
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สถาบันอยุธยาศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
ขอบคุณ 405
Shop
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น